มารยาทไทย

๑.มารยาทในการแสดงความเคารพ
การแสดงความเคารพสามารถการทำได้หลายวิธี เช่นการไหว้ การกราบ การคำนับ การยืน การนั่ง การเดิน เป็นต้น ซึ่งจะปฏิบัติแตกต่างกันไปตามวาระโอกาส บุคคล และสถานที่๒.มารยาทในการสนทนา
การสนทนา เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด การแสดงความคิดเห็น โดยการพูดคุยโต้ตอบกัน การสนทนาจึงเป็นสื่อกลางที่ทำให้มนุษย์รับรู้ เข้าใจ ซึ่งกันและกัน
มารยาทในการสนทนาระหว่างบุคคลที่ถูกต้อง
๑. พูดสนทนาด้วยภาษาสุภาพ และลงท้ายด้วยหางเสียงครับ/ค่ะ
๒. หลีกเลี่ยงการพูดในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ฟัง
๓. พูดตรงประเด็น จริงใจ
๔.ขณะที่สนทนา สายตาควรมองไปที่ผู้ฟัง เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงความสนใจ
๕. ไม่เป็นผู้พูดแต่ฝ่ายเดียว ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้แสดงความคิดเห็นด้วย
๒. ปฏิบัติตนในการสนทนาได้อย่างเหมาะสม
๓. สนทนาด้วยความจริงใจ
๔. ขณะสนทนากับผู้อื่นควรแสดงความเคารพด้วยการตั้งใจฟัง
การแต่งกายของคนเรามีหลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับความชอบ รสนิยม โอกาส และสถานที่ ซึ่งควรคำนึงถึงมารยาทถึงการแต่งกายให้ถูกต้องตามกาลเทศะ อีกทั้งการแต่งกายเป็นสิ่งที่แสดงบุคลิกภาพของบุคคล๒. หลีกเลี่ยงการพูดในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ฟัง
๓. พูดตรงประเด็น จริงใจ
๔.ขณะที่สนทนา สายตาควรมองไปที่ผู้ฟัง เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงความสนใจ
๕. ไม่เป็นผู้พูดแต่ฝ่ายเดียว ควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้แสดงความคิดเห็นด้วย
การปฏิบัติตนในการสนทนา
๑. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับมารยาทในการสนทนา๒. ปฏิบัติตนในการสนทนาได้อย่างเหมาะสม
๓. สนทนาด้วยความจริงใจ
๔. ขณะสนทนากับผู้อื่นควรแสดงความเคารพด้วยการตั้งใจฟัง
การแนะนำผู้อื่นให้มีมารยาทในการสนทนาที่ถูกต้อง
๑. อธิบายถึงคุณค่า ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ดี
๒. แนะนำวิธีปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ดีให้แก่ผู้อื่น
๓. ชี้แนะผู้อื่นให้ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ดี
๔. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนา
๕. ชมเชยผู้ที่ปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาที่ดี
๓.มารยาทในการแต่งกาย
มารยาทในการแต่งกายที่ถูกต้อง
๑. สวมเครื่องแต่งกายโดยคำนึงถึงดอกาส สถานที่และบุคคลที่เราต้องไปพบ
๒. สวมเสื้อผ้าที่เรียบร้อยและไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง
๓. แต่งกายมิดชิด ไม่เปิดเผยส่วนของร่างกายจนเกินไป
นักเรียนควรแต่งกายให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของโรงเรียน
๔.การมีสัมมาคารวะ
สัมมาคารวะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเคารพ นอบน้อมทั้งทางกาย วาจา และใจต่อผู้อื่นรวมถึงการมีมารยาท และปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องลักษณะของผู้ที่มีสัมมาคารวะ
๑. มีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่น๒. เคารพและให้เกียรติผู้อื่นอยู่เสมอ
๓. มีมารยาททั้งกาย วาจา ใจ
๔. ประพฤติปฏิบัติให้เหมาะกับกาลเทศะ
๕. ไม่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น
การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตนมีสัมมาคารวะ
๑. แนะนำผู้อื่นถึงวิธีการปฏิบัติตนอย่างมีสัมมาคารวะที่ถูกต้อง
๒. อธิบายถึงคุณค่า ความสำคัญ และผลดีที่เกิดจากการเป็นผู้มีสัมมาคารวะ
๓. คอยตักเตือนบุคคลใกล้ชิดให้ปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะอยู่เสมอ
๔. ชักชวนผู้อื่นให้ร่วมกันปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะเพื่อการสืบสานและอนุรักษ์
๕. ให้การชื่นชมผู้ที่ปฏิบัติตนเป็นผู้ที่มีสัมมาคารวะอยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น